"สุรยุทธ์"ปัดเป็นคนกลางเจรจา"แม้ว" อัด"สื่อ"ลงข่าวผิด ปธ.กก.สมานฉันท์ยอมรับ 3 เงื่อนไข ถกหาทางออก
ปธ.กก. สมานฉันท์ฯ ระบุ ข้อเสนอ"แม้ว" เจรจาเพื่อนำไปสู่การยุบสภา-เลือกตั้งใหม่-ลงสัตยาบัน เป็นข้อเสนอที่ดี แนะ อาจหยิบ กม.ปรองดองมาพิจารณา
"สุรยุทธ์"ปัดเป็นคนกลางเจรจา"แม้ว" โทษสื่อ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี แถลงข่าวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่มูลนิธิรัฐบุรุษ"พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" กรณีมีกระแสข่าวเป็นตัวกลางในการเจรจากับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการแก้ปัญหาบ้านเมืองว่า เรื่องนี้ เป็นความเข้าใจของสื่อมวลชนที่ลงข่าวผิดพลาด เพราะความจริงไม่ได้พูดว่า เป็นคนกลางที่จะไปเจรจากับพ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นคำถามของนักข่าวที่ไว้วางใจกัน ก็ตอบไปว่า ถ้าติดต่อมาก็พร้อมคุย ไม่ได้เป็นการเสนอตัวแต่อย่างใด ดังนั้น ต้องระมัดระวังต่อมากขึ้น แม้จะเป็นสื่อที่เคยไว้วางใจก็ตาม
ก่อนหน้านี้เมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม พล.อ.สุรยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการลับ ลวง พราง ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 100.5 ถึงกรณีที่อาจจะมีการพูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหาความแตกแยกทางการเมืองว่า ไม่มีปัญหาอะไร คุยกันได้ แต่เราต้องยอมรับความจริงว่า ขณะนี้มีปัญหาแล้ว แต่จะหาทางแก้อย่างไร ซึ่งน่าจะมีทางแก้ได้ หากเรารวมมือร่วมใจกัน เพราะไม่มีปัญหาใดที่แก้ไม่ได้ ซึ่งต้องค่อยๆปรับทำความเข้าใจกันให้เขาคิดด้วยตัวเอง และกระแสพระราชดำรัสเป็นสิ่งที่เราควรนำมาคิดให้ดี เพราะหากอยากให้ท่านได้สบายพระราชหฤทัย เราควรจะช่วยกันหรือไม่
ปธ.กก.สมานฉันท์รับ 3เงื่อนไข "แม้ว" เจรจาทางออก
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ถึงกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอเงื่อนไขการเจรจา 3 ประการคือ นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 หรือที่มีเนื้อหาใกล้เคียงมาใช้ การยุบสภา และการเลือกตั้งใหม่โดยให้ทุกสีต้องลงสัตยาบันยอมรับผลการเลือกตั้ง ว่า เรื่องการเจรจา เป็นข้อเสนอสำคัญที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ แต่เงื่อนไขการเจรจาต้องนำความต้องการของทุกฝ่ายมาวางแบและต่อรองกันเพื่อ ให้พอใจกันทุกฝ่ายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่ง 3 เงื่อนไขที่พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอ ตนมองคร่าวๆแล้วเห็นด้วย โดยข้อเสนอเรื่องการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่และลงสัตยาบันยอมรับผลการเลือก ตั้งและทุกฝ่ายมาตกลงว่า ต่างฝ่ายจะไม่ทำให้บ้านเมืองเกิดปัญหาอีก เป็นข้อเสนอที่ดี ส่วนเรื่องการนำรัฐธรรมนูญฉบับ 40 มาใช้ โดยหลักก็ใช้ได้เพียงแต่ การได้มา จะมาจากไหน ซึ่งก็มีวิธีการที่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ แต่ก็ต้องมาคุยกัน
เมื่อถามว่า เงื่อนไขความต้องการที่จะมาเจรจา ไม่ตรงกับข้อเสนออื่นๆของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ซึ่งสุดท้ายจะลักลั่นกันเองในข้อเสนอ นายดิเรก กล่าวว่า ข้อเสนอกรอบ 1 เรื่องการสร้างสมานฉันท์พูดถึงการเจรจาชัดเจน เพียงแต่เงื่อนไขที่ต่างฝ่ายต้องการ จะนำมาสู่การยุบสภาหรือไม่ ตรงนี้อยู่ที่การต่อรองกัน ทั้งนี้ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กรอบ 2 และ 3 ว่าด้วยการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีการเสนอว่า หลังจากแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นแล้ว ก็ให้แก้ทั้งฉบับเพื่อให้ได้ฉบับที่มาจากประชาชนจริงๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องการให้ถูกดำเนินคดีและยึดทรัพย์ ความต้องการนี้ทำให้หลักนิติรัฐของประเทศเสีย นายดิเรก กล่าวว่า อย่างเพิ่งไปถึงขั้นนั้น ฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล นำสิ่งที่ตนเองต้องการมากางดูกันก่อน แล้วมาถกเถียงต่อรองโดยไม่ตั้งแง่ ซึ่งเรื่องจบลงได้ และสามารถทำให้ถูกกฎหมายได้ อย่างร่างกฎหมายปรองดองแห่งชาตินั้นอาจจะเป็นตัวหนึ่งที่ถูกหยิบขึ้นมา พิจารณากันได้ ซึ่งก็ถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย
เมื่อถามต่อว่า จำเป็นต้องอาศัยคนกลางหรือไม่ นายดิเรก กล่าวว่า ไม่จำเป็น โดยถ้านายกฯ ชูธงก็ทำได้เลย ฝ่ายรัฐบาลก็เชิญผู้ใหญ่ฝ่ายตนเองมาเป็นตัวแทน ฝ่ายค้านก็เชิญผู้ใหญ่ฝ่ายตนเองให้มาคุยกันว่า การร่วมกันเดินหน้า อะไรที่เป็นไปได้บ้าง ในวงก็สามารถเชิญพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีมาฟังได้ หรือคนอื่นๆมาฟังด้วยได้ และกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็พร้อมจะไปร่วมฟัง
ปธ.กก. สมานฉันท์ฯ ระบุ ข้อเสนอ"แม้ว" เจรจาเพื่อนำไปสู่การยุบสภา-เลือกตั้งใหม่-ลงสัตยาบัน เป็นข้อเสนอที่ดี แนะ อาจหยิบ กม.ปรองดองมาพิจารณา
"สุรยุทธ์"ปัดเป็นคนกลางเจรจา"แม้ว" โทษสื่อ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี แถลงข่าวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่มูลนิธิรัฐบุรุษ"พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" กรณีมีกระแสข่าวเป็นตัวกลางในการเจรจากับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการแก้ปัญหาบ้านเมืองว่า เรื่องนี้ เป็นความเข้าใจของสื่อมวลชนที่ลงข่าวผิดพลาด เพราะความจริงไม่ได้พูดว่า เป็นคนกลางที่จะไปเจรจากับพ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นคำถามของนักข่าวที่ไว้วางใจกัน ก็ตอบไปว่า ถ้าติดต่อมาก็พร้อมคุย ไม่ได้เป็นการเสนอตัวแต่อย่างใด ดังนั้น ต้องระมัดระวังต่อมากขึ้น แม้จะเป็นสื่อที่เคยไว้วางใจก็ตาม
ก่อนหน้านี้เมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม พล.อ.สุรยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการลับ ลวง พราง ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 100.5 ถึงกรณีที่อาจจะมีการพูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหาความแตกแยกทางการเมืองว่า ไม่มีปัญหาอะไร คุยกันได้ แต่เราต้องยอมรับความจริงว่า ขณะนี้มีปัญหาแล้ว แต่จะหาทางแก้อย่างไร ซึ่งน่าจะมีทางแก้ได้ หากเรารวมมือร่วมใจกัน เพราะไม่มีปัญหาใดที่แก้ไม่ได้ ซึ่งต้องค่อยๆปรับทำความเข้าใจกันให้เขาคิดด้วยตัวเอง และกระแสพระราชดำรัสเป็นสิ่งที่เราควรนำมาคิดให้ดี เพราะหากอยากให้ท่านได้สบายพระราชหฤทัย เราควรจะช่วยกันหรือไม่
ปธ.กก.สมานฉันท์รับ 3เงื่อนไข "แม้ว" เจรจาทางออก
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ถึงกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอเงื่อนไขการเจรจา 3 ประการคือ นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 หรือที่มีเนื้อหาใกล้เคียงมาใช้ การยุบสภา และการเลือกตั้งใหม่โดยให้ทุกสีต้องลงสัตยาบันยอมรับผลการเลือกตั้ง ว่า เรื่องการเจรจา เป็นข้อเสนอสำคัญที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ แต่เงื่อนไขการเจรจาต้องนำความต้องการของทุกฝ่ายมาวางแบและต่อรองกันเพื่อ ให้พอใจกันทุกฝ่ายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่ง 3 เงื่อนไขที่พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอ ตนมองคร่าวๆแล้วเห็นด้วย โดยข้อเสนอเรื่องการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่และลงสัตยาบันยอมรับผลการเลือก ตั้งและทุกฝ่ายมาตกลงว่า ต่างฝ่ายจะไม่ทำให้บ้านเมืองเกิดปัญหาอีก เป็นข้อเสนอที่ดี ส่วนเรื่องการนำรัฐธรรมนูญฉบับ 40 มาใช้ โดยหลักก็ใช้ได้เพียงแต่ การได้มา จะมาจากไหน ซึ่งก็มีวิธีการที่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ แต่ก็ต้องมาคุยกัน
เมื่อถามว่า เงื่อนไขความต้องการที่จะมาเจรจา ไม่ตรงกับข้อเสนออื่นๆของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ซึ่งสุดท้ายจะลักลั่นกันเองในข้อเสนอ นายดิเรก กล่าวว่า ข้อเสนอกรอบ 1 เรื่องการสร้างสมานฉันท์พูดถึงการเจรจาชัดเจน เพียงแต่เงื่อนไขที่ต่างฝ่ายต้องการ จะนำมาสู่การยุบสภาหรือไม่ ตรงนี้อยู่ที่การต่อรองกัน ทั้งนี้ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กรอบ 2 และ 3 ว่าด้วยการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีการเสนอว่า หลังจากแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นแล้ว ก็ให้แก้ทั้งฉบับเพื่อให้ได้ฉบับที่มาจากประชาชนจริงๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องการให้ถูกดำเนินคดีและยึดทรัพย์ ความต้องการนี้ทำให้หลักนิติรัฐของประเทศเสีย นายดิเรก กล่าวว่า อย่างเพิ่งไปถึงขั้นนั้น ฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล นำสิ่งที่ตนเองต้องการมากางดูกันก่อน แล้วมาถกเถียงต่อรองโดยไม่ตั้งแง่ ซึ่งเรื่องจบลงได้ และสามารถทำให้ถูกกฎหมายได้ อย่างร่างกฎหมายปรองดองแห่งชาตินั้นอาจจะเป็นตัวหนึ่งที่ถูกหยิบขึ้นมา พิจารณากันได้ ซึ่งก็ถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย
เมื่อถามต่อว่า จำเป็นต้องอาศัยคนกลางหรือไม่ นายดิเรก กล่าวว่า ไม่จำเป็น โดยถ้านายกฯ ชูธงก็ทำได้เลย ฝ่ายรัฐบาลก็เชิญผู้ใหญ่ฝ่ายตนเองมาเป็นตัวแทน ฝ่ายค้านก็เชิญผู้ใหญ่ฝ่ายตนเองให้มาคุยกันว่า การร่วมกันเดินหน้า อะไรที่เป็นไปได้บ้าง ในวงก็สามารถเชิญพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีมาฟังได้ หรือคนอื่นๆมาฟังด้วยได้ และกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็พร้อมจะไปร่วมฟัง