thaksinlive

กรุณาสมัคร Use ของท่านด้วย เพื่อที่ได้เห็นอะไรหลายๆอย่าง

Join the forum, it's quick and easy

thaksinlive

กรุณาสมัคร Use ของท่านด้วย เพื่อที่ได้เห็นอะไรหลายๆอย่าง

thaksinlive

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
thaksinlive

thaksinlive


    โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง

    sezzion
    sezzion
    จอมพลเรือ
    จอมพลเรือ


    Posts : 144
    Points : 100000379
    Reputation : 0
    Join date : 21/11/2009

    โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง Empty โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง

    ตั้งหัวข้อ  sezzion Thu Dec 17, 2009 12:07 pm

    สับสนเอง

    ไทยรัฐออนไลน์ โดย แม่ลูกจันทร์ 14 ธันวาคม 2552, 05:00 น.

    โครงการ ประชานิยมแก้หนี้นอกระบบโอนเข้าเป็นหนี้ในระบบ ที่รัฐบาลเปิดให้พี่น้องประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบไปขึ้นทะเบียนกับธนาคาร ออมสิน และธนาคาร ธ.ก.ส. 1,200 สาขาทั่วประเทศไทย

    ขณะนี้การลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบผ่านไปแล้วเกือบครึ่งทาง มีลูกหนี้แห่ไปลงทะเบียนแล้วกว่าสองแสนราย

    คาด ว่าเมื่อหมดเขตลงทะเบียนวันที่ 31 เดือนนี้จะมีลูกหนี้นอกระบบที่ถูกขูดรีดดอกเบี้ยมหาโหด ต้นทบดอก ดอกทบต้น ร่วมโครงการประมาณสี่แสนราย

    ถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายไป 50 เปอร์เซ็นต์

    เพราะถูกนายทุนเงินกู้ข่มขู่ลูกหนี้ไม่ ให้ไปลงทะเบียน

    และ รัฐบาลไม่รับประกันว่าลูกหนี้นอกระบบที่ไปลงทะเบียนจะได้รับการอนุมัติ ทุกรายและถึงจะได้อนุมัติโอนหนี้เข้าระบบ ก็ไม่มีปัญญาหาคนค้ำประกัน

    "แม่ลูกจันทร์" เห็นว่า การแก้หนี้นอกระบบเป็นนโยบายที่ดี แต่การแก้หนี้นอกระบบจะไม่สำเร็จอย่างที่โฆษณา

    เพราะรัฐบาลรีบร้อนรวบรัดเกินไป ทำให้การวางแผนไม่รอบคอบ ไม่รัดกุม

    คือตีโจทย์ไม่แตกนั่นแหละโยม

    เช่น...กำหนดว่าลูกหนี้นอกระบบที่ไปลงทะเบียนต้องแจ้งชื่อเจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้ให้ ชัดเจน

    แต่ภายหลังมีการแก้ไขระเบียบใหม่ ผ่อนผันให้ลูกหนี้ที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อเจ้าหนี้สามารถลงทะเบียนได้เช่นกัน

    ก็มีคำถามเกิดขึ้นทันที ถ้าไม่ระบุชื่อเจ้าหนี้แล้วจะไปเจรจาประนอมหนี้กับใคร??

    และจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าผู้ที่ลงทะเบียนเป็นหนี้นอกระบบจริง??

    หรือการที่รัฐมนตรีคลัง "กรณ์ จาติกวณิช" ประกาศว่ารัฐบาลจะไม่ลงโทษเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบที่กล้าเปิดเผยตัว

    "แม่ลูกจันทร์" สงสัยว่ารัฐมนตรีคลังอาจสับสนนโยบายตัวเอง??

    เพราะเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบที่คิดดอก-เบี้ยสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด มีความผิดทั้ง กม.ธนาคาร กม.สรรพากร และ กม.ฟอกเงิน

    การที่รัฐมนตรีคลังประกาศจะไม่ดำเนินคดีเจ้าหนี้นอกระบบ จึงเข้าข่ายความผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่เต็มเปา

    แม้แต่ตำรวจก็กำลังสับสนว่าจะปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลอย่างไร??

    จะให้จับกุมดำเนินคดีเจ้าหนี้นอกระบบ? หรือจะปล่อยให้ลอยนวล?

    ล่าสุด...การที่รัฐบาลเปิดช่องให้ลูกหนี้นอกระบบไม่ต้องแจ้งชื่อเจ้าหนี้เงินกู้ของตัวเอง

    ประเด็นนี้กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้โครงการแก้หนี้นอกระบบเดินหน้าไม่ สะดวกโยธิน

    เพราะธนาคารออมสิน และธนาคาร ธ.ก.ส.ออกมายืนยันตรงกันว่า ถ้าลูกหนี้นอกระบบไม่แจ้งชื่อเจ้าหนี้ให้ชัดเจน จะไม่ได้รับการพิจารณา

    เพราะการแก้หนี้นอกระบบกำหนดให้ "เจ้าหนี้" กับ "ลูกหนี้" ต้องเจรจาประนอมหนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นคนกลาง

    เมื่อการเจรจาประนอมหนี้ได้ข้อยุติแล้ว ธนาคารจึงจะเคลียร์หนี้ติดค้างให้เจ้าหนี้รับไปโดยตรง

    จากนั้นจึงโอนหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบธนาคาร

    ที่เคยถูกขูดรีดดอกเบี้ยเลือดซิบๆร้อยละ 10 ต่อเดือน ก็จ่ายดอกเบี้ยจิ๊บๆแค่ร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี!!

    สรุปว่า ถ้ามีลูกหนี้ฝ่ายเดียว ไม่มีฝ่ายเจ้าหนี้ ไม่มีการเจรจาประนอมหนี้ก็ถือว่าผิดกติกา

    ธนาคารก็ไม่สามารถรับโอนหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบได้ตามอำเภอใจ

    เพราะถ้ากลายเป็นหนี้เน่าภายหลัง ธนาคารต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ

    นี่มันเงินกู้นะคุณพี่ ไม่ใช่เงินแจกฟรีของรัฐบาล.

    แม่ลูกจันทร์
    sezzion
    sezzion
    จอมพลเรือ
    จอมพลเรือ


    Posts : 144
    Points : 100000379
    Reputation : 0
    Join date : 21/11/2009

    โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง Empty Re: โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง

    ตั้งหัวข้อ  sezzion Thu Dec 17, 2009 12:08 pm

    วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11601 มติชนรายวัน

    หนี้นอกระบบ เกาถูกที่คันหรือไม่

    โดย สมพันธ์ เตชะอธิก

    คนเราเป็นหนี้เพราะอะไร?

    หนึ่ง เพราะยากจนเงินมาตั้งแต่แรก จึงไม่พอค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตให้พอเพียงต่อปัจจัยสี่

    สอง ลงทุนประกอบกิจการแล้วขาดทุนย่อยยับ ต้นทุนสูงแต่ขายของไม่ได้ จึงต้องกู้หนี้เพื่อประคองกิจการหรือปรับเปลี่ยนธุรกิจใหม่

    สาม ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ทำนาแล้วถูกน้ำท่วมข้าวตายหมด ปลูกข้าวโพดแล้วแมลงกินหมดหรือแล้งตาย

    สี่ บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและต้องการวัตถุเกินตัว รายรับน้อยกว่ารายจ่าย เช่น ซื้อรถซื้อบ้านราคาแพง กินอยู่หรูหราเกินกำลังที่จะผ่อนชำระ

    ห้า อื่นๆ อีกมากมาย เช่น มีกิ๊กต้องเลี้ยงดู มีลูกเยอะ ถูกเอารัดเอาเปรียบ พ่อแม่ป่วยพิการ ฯลฯ

    สมัย พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นหนี้เป็นทุกข์ยากยิ่ง สมัยปัจจุบัน กล่าวว่า ใครไม่มีหนี้เป็นคนไม่มีเครดิต ด้วยเหตุนี้คนส่วนใหญ่จึงเป็นหนี้ ประมาณครัวเรือนละ 100,000 บาท เพราะคนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและกรรมกรรับจ้างแรงกว่า 75% เป็นพ่อค้าแม่ค้าประกอบธุรกิจส่วนตัวและพนักงาน ข้าราชการอีกราว 20% นอกนั้นเป็นนายทุนระดับใหญ่และนักการเมืองที่ร่ำรวยอีกราว 5% มีการเรียกร้องปลดหนี้เป็นระยะๆ มีคนฆ่าตัวตายทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย/รายใหญ่ที่ล้มละลาย

    รัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลือกเอาหนี้นอกระบบที่มาจากความล้มเหลวในการประกอบกิจการ ซึ่งมีคนเกี่ยวข้องราว 8-9 แสนคน มาจัดการหนี้ให้อยู่ในระบบธนาคาร

    โดย เกษตรกร มาแจ้งเปลี่ยนหนี้จากนายทุนนอกระบบให้เข้าระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ผู้ประกอบการ นักธุรกิจรายย่อย มาสู่ระบบธนาคารออมสิน และข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มาสู่ระบบธนาคารกรุงไทย โดยมีสิทธิกู้หนี้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย โดยเสียดอกเบี้ยราคาถูกกว่านายทุนไม่เกินร้อยละ 12 ตามกฎหมาย

    กฎหมาย กำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 10-15 แต่นายทุนนอกระบบเล่นคิดดอกเบี้ยร้อยละ 240 ต่อปี หรือร้อยละ 20 ต่อเดือน ในยามที่ผู้กู้เดือดร้อนมากและไม่มีผู้ค้ำประกัน พวกเขาก็ยอมจำนวน แม้ว่าจะผิดกฎหมายแต่นายทุนนอกระบบก็ไม่เกรงกลัว แถมเป็นเมียนายตำรวจจำนวนมาก หรือ มีนายตำรวจใหญ่ในแต่ละพื้นที่คุ้มครอง

    นโยบายนี้ดีหรือไม่?

    เบื้อง ต้นต้องนับว่าการก่อเกิดและการตัดสินใจจัดทำนโยบายโอนหนี้นอกระบบที่มีดอก เบี้ยแพงมาเข้าสู่ระบบธนาคารที่มีดอกเบี้ยถูกลงเป็นเรื่องดี เพราะช่วยผ่อนเบาภาระของคนจำนวนมาก ที่หาเงินใช้หนี้ไม่ทันและไม่พอจ่ายคืนนายทุนนอกระบบ คนที่พอมีกำลังและยังประกอบการได้ ก็น่าจะพึงพอใจ จึงเป็นการเกาแบบๆ ให้พอหายคันชั่วคราว

    นโยบายนี้ไม่ดีหรือไม่? การปฏิบัติตามนโยบาย จะมีปัญหายุ่งยากกับขั้นตอนและเอกสาร ระเบียบต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ขอกู้ต้องรายงานชื่อนายทุนและจำนวนวงเงินกู้ เรื่องนี้อาจมีอันตรายตามมา เพราะเดิมระบบทวงหนี้ใช้อันธพาลครองเมือง มีทั้งข่มขู่ ทำร้ายและเข่นฆ่า ในด้านวงเงินกู้และผู้เกี่ยวข้องต้องถือว่าจำนวนเงิน 200,000 บาท ไม่มากไม่น้อยเกินไป แต่โอกาสที่ช่วยแก้ไขให้ก็ยังเป็นกลุ่มคนจำนวนน้อยอยู่

    ใน ด้านดอกเบี้ยก็ต้องถือว่ายังคิดอยู่ในระบบธุรกิจและกฎหมายมากกว่าคิดช่วย เหลือผู้เดือดร้อนอย่างจริงจัง ในระบบชุมชน มีการคิดดอกเบี้ยการกู้ยืมกันเพียงร้อยละ 6 ต่อปี บางแห่งร้อยละ 3 บางแห่งให้แบบไม่คิดดอกเบี้ยขอให้มีระบบใช้เงินคืนและควบคุมการใช้จ่ายให้ดี ขึ้น ในด้านการช่วยทำให้เกิดการลงทุนและประกอบกิจการใหม่ที่ทำให้เลี้ยงตัวเองได้ จนปลดหนี้ได้หมด นโยบายนี้ไม่สนใจแต่เป็นการเพิ่มลูกค้าให้กับธนาคาร โดยผู้กู้ต้องยอมจำนนต่อระบบ

    จึงเป็นการเกาไม่ถูกที่คัน เพราะทุกคนยังเป็นหนี้เหมือนเดิม เพียงแต่จ่ายดอกเบี้ยน้อยลงและมีระยะเวลาพอหายใจในการหาเงินไปใช้คืน

    แนวทางระยะยาวรัฐบาลควรจำแนกเรื่องหนี้ทั้งระบบ

    หนี้สิน อันเกิดจากนโยบายหรือโครงการต่างๆ ของรัฐบาล ควรปลดหนี้ให้เกษตรกรที่ยากจนทั้งหมด หนี้สินที่เกิดจากภัยธรรมชาติควรปลดหนี้หรือให้กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย

    หนี้ที่เกิดจากความล้มเหลวในการลงทุน ควรคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราทั่วไป

    หนี้ที่เกิดจากความฟุ่มเฟือย การพนันและการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม คิดตามระบบและกฎหมายกำหนด

    ที่ สำคัญรัฐบาลควรมีการให้กู้ยืม เพื่อการลงทุนที่ฟื้นตัวเองได้โดยคิดดอกเบี้ยแบบไม่เอากำไรและอยู่ได้แบบ เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีพี่เลี้ยงคอยให้แนะนำรายบุคคล

    ทำอย่างนี่จึงจะเรียกได้ว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มีความจริงใจและเกาถูกที่คันให้หายคันอย่างถาวร มากกว่าเพื่อคะแนนเสียง
    sezzion
    sezzion
    จอมพลเรือ
    จอมพลเรือ


    Posts : 144
    Points : 100000379
    Reputation : 0
    Join date : 21/11/2009

    โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง Empty Re: โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง

    ตั้งหัวข้อ  sezzion Thu Dec 17, 2009 12:10 pm

    เรื่องจากปก จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
    ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 17 ธันวาคม 2009

    ฉวยนโยบายแก้หนี้นอกระบบตำรวจข่มขู่-รีดส่วยเจ้าหนี้

    รัฐมนตรี คลังแฉมีตำรวจบางท้องที่ฉวยโอกาสที่รัฐบาลทำโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบออก ข่มขู่รีดส่วยจากเจ้าหนี้ ยืนยันไม่มีนโยบายให้จับกุมเจ้าหนี้ ยกเว้นจะมีพฤติกรรมการข่มขู่ลูกหนี้เท่านั้น จี้ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนแรก ยอดขึ้นทะเบียนล่าสุด 346,000 ราย มูลหนี้รวม 38,000 ล้านบาท เผยคนสุรินทร์ กรุงเทพฯ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ขึ้นทะเบียนมากที่สุด

    ที่กระทรวงมหาดไทย มีการประชุมร่วมกันระหว่างนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวง และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข โดยประชุมผ่านทางระบบวิดีทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบตามนโยบายของรัฐบาล

    นายกรณ์ ได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนถึงแนวทางการดำเนิน การตามนโยบายเพราะเจ้าหนี้และลูกหนี้ยังมีความสับสนอยู่มากทำให้ลังเลที่จะ มาขึ้นทะเบียน

    “ผมทรายมาว่ามีตำรวจบางท้องที่ไปข่มขู่ลูกหนี้ไม่ให้ มาขึ้นทะเบียน บางทีก็ไปข่มขู่เจ้าหนี้และเรียกเก็บส่วย ซึ่งกำลังติดตามเพื่อแก้ปัญหาอยู่ ขอให้ช่วยกันทำความเข้าใจว่ารัฐบาลมีนโยบายที่จะแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้กับ ประชาชนโดยไม่มีนโยบายจับกุมเจ้าหนี้มาดำเนินคดี นอกเสียจากว่าจะมีพฤติกรรมข่มขู่ลูกหนี้จึงจะดำเนินการตามกฎหมาย” นายกรณ์กล่าว

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวอีกว่า ขณะนี้มีลูกหนี้มาขึ้นทะเบียนแล้ว 346,000 ราย มูลหนี้รวม 38,000 ล้านบาท จังหวัดที่มีลูกหนี้ขึ้นทะเบียนมากที่สุด 5 อันดับแรกตามลำดับคือ สุรินทร์ กรุงเทพฯ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ส่วนจังหวัดที่มีลูกหนี้ขึ้นทะเบียนน้อยที่สุดคือ แม่ฮ่องสอน ระนอง สมุทรสงคราม ตราด และลำพูน ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าไปมีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการ ขึ้นทะเบียน และการรวบรวมสถิติต่างๆ ขอย้ำว่าต้องให้ความสำคัญกับโครงการนี้เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุ ประสงค์ของรัฐบาล
    sezzion
    sezzion
    จอมพลเรือ
    จอมพลเรือ


    Posts : 144
    Points : 100000379
    Reputation : 0
    Join date : 21/11/2009

    โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง Empty Re: โครงการประชานิยมแก้หนี้นอกระบบ สงสัย รมต.คลังสับสนนโยบายของตนเอง

    ตั้งหัวข้อ  sezzion Thu Dec 17, 2009 12:10 pm

    คอลัมน์ บทบรรณาธิการ
    จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
    ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 17 ธันวาคม 2009

    ล้มตั้งแต่เกิด

    ตัว เลขการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ศูนย์ปฏิบัติการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) ธนาคารออมสิน จากสาขาธนาคารและจุดลงทะเบียนเพิ่มเติมกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ ปรากฏว่ามียอดผู้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1-15 ธันวาคม 2552 ทั้งสิ้น 178,331 ราย เป็นยอดมูลหนี้รวม 19,276.60 ล้านบาท ยอดหนี้เฉลี่ยต่อรายประมาณ 108,000 บาท โดยจังหวัดที่ผู้ลงทะเบียนมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร และแม่ฮ่องสอนลงทะเบียนน้อยที่สุด

    ขณะที่กลุ่มจับตานโยบายรัฐบาล (Policy Watch) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์ “การโอนหนี้นอกระบบ” ว่าอาจไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเพดานก่อหนี้ประชาชนที่สูงถึง 6.3 เท่าของรายได้ และอาจทำให้เกิดการหมุนเวียนของหนี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมากกว่า 80% ของการเป็นหนี้นั้นเป็นหนี้ในระบบ ส่วนแผนจัดตั้งไมโครไฟแนนซ์ก็ช่วยกระจายสินเชื่อในระบบได้เพียงเล็กน้อย

    ไม่ เพียงหนี้สินในระบบจะน่าวิตกกว่าหนี้นอกระบบแล้ว ยอดของหนี้ที่สูงกว่ารายได้ถึง 6.3 เท่า หรือเฉลี่ย 130,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งตามปรกติถือว่าหนี้ 2 เท่าของรายได้ก็สูงแล้ว

    จึง มีคำถามว่า ผู้เป็นหนี้จะมีศักยภาพในการชำระหนี้คืนหรือไม่ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะต่ำและระยะเวลาชำระหนี้นานถึง 8 ปีก็ไม่มีส่วนช่วยมากนัก เพราะคงยากที่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรจะมีเงินสมทบหรือเงินสะสมในแต่ละปีมาชำระหนี้

    ข้อมูล ล่าสุดจากการขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบทั้งหมดมีผู้ลงทะเบียนจำนวน 264,000 ราย ยอดหนี้รวม 29,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยหนี้สินต่อรายประมาณ 100,000 บาท แต่ผลการประเมินระบุว่า ยอดหนี้ประมาณ 100,000 บาทต่อรายก็ถือว่าสูงเกินกว่าจะชำระได้

    ขณะที่นโยบายในการเร่งขยาย สินเชื่อในระบบด้วยการนำระบบไมโครไฟแนนซ์เข้ามาปล่อยแก่ประชาชนระดับรากหญ้า ไม่เชื่อว่าจะแก้ปัญหาหนี้สินได้เช่นกัน เพราะยอดหนี้สินต่อครัวเรือนที่มีอยู่ในปัจจุบันถือว่าไม่สามารถจะจ่ายคืน ได้ ยังมีคำถามว่าสถาบันการเงินที่เข้ามาปล่อยสินเชื่อจะปล่อยสินเชื่อได้มาก น้อยแค่ไหน เพราะต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย ซึ่งแม้แต่การปล่อยสินเชื่อของกองทุนหมู่บ้านขณะนี้ยังปล่อยได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย แต่ถ้าเกินกว่านั้นต้องมีการค้ำประกันเพิ่มเติม

    ดัง นั้น นโยบายแก้ปัญหาหนี้สินจึงเป็นเพียงการตอบสนองนโยบายทางการเมือง ซึ่งล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น แทนที่รัฐบาลจะสร้างโอกาสให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรหรืออาชีพต่างๆ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างวินัยในการออมและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นด้วย

      เวลาขณะนี้ Sun May 19, 2024 3:15 pm